71 Years Anniversary's Kamol & Friends


             สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรมขอเชิญทุกท่านเข้าชม "นิทรรศการผลงานศิลปะ ครบรอบ 71 ปี กมล ทัศนาญชลี และเพื่อนศิลปิน" ระหว่างวันที่ 6 มค. - 6 กพ. 2558 ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน เวลา 10.00-19.00 น. ทุกวัน ยกเว้นวันจันทร์ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในงานท่านจะได้ชื่นชมผลงานชิ้นเอกจากศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ผู้นี้ และผลงานจากเพื่อนศิลปินแนวหน้าของไทยจำนวนนับร้อยผลงา
* พิธีเปิดอย่างเป็นทางการโดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามมงกุฏราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด ีขึ้นในวันที่ 10 มค. 2558 เวลา 17.00 น.



Andaman Art Festival International Art Workshop & Exhibition 2015

เวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ เวลา ๑๗.๓๐ นาฬิกา นางอนงค์รัตน์ คงลาภ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกระบี่ มอบหมายให้ นายสมพร เกิดทรัพย์ ผู้พิพากษารองหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกระบี่ พร้อมด้วย ข้าราชการศาลยุติธรรม ร่วมเป็นเกียรติ
ในพิธีเปิดโครงการจัดงานแสดงวาดภาพโดยศิลปินไทยและศิลปินต่างชาติ (Andaman Art Festival International Art Workshop & Exhibition 2015) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะแขนงต่างๆ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของกลุ่มเด็ก เยาวชน ประชาชน และนักท่องเที่ยวได้เรียนรู้เกี่ยวกับงานศิลปะ โดยจัดแสดงผลงานไว้ที่หอศิลป์อันดามัน ณ ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมอันดามัน อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่

วันศิลปินแห่งชาติ รายชื่อศิลปินแห่งชาติ ปี 255

ศิลปินแห่งชาติ” คำนี้คงเป็นคำที่เหล่าดารานักแสดง ทั้งรุ่นเล็ก และรุ่นใหญ่ ต่างต้องการให้เกิดขึ้นกับตัวเอง เพราะหากได้เลือกเป็นศิลปินแห่งชาติแล้วนั้น จะได้มาซึ่งเกียรติและความภาคภูมิใจในสายงานอาชีพตัวเองเป็นอย่างมาก แต่แท้จริงแล้วการที่จะได้เป็นศิลปินแห่งชาตินั้น จักต้องมีผลงานที่น่าประทับใจ ปฏิบัติตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม ประเทศชาติ วันนี้สกู๊ปเอ็มไทย จึงได้นำข้อความประวัติวันศิลปินแห่งชาติ มาฝากกันครับ
ศิลปินแห่งชาติ 2557
ศิลปินแห่งชาติ 2557
 ทางกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ได้ประกาศผลพิจารณารายชื่อผู้สมัครที่ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2557 จำนวน 12 คน ได้แก่
1. ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ ได้แก่
นายจรูญ อังศวานนท์ (สถาปัตยกรรมภายในมัณฑนศิลป์)
นายปัญญา วิจินธนสาร (จิตรกรรม)
นายชวลิต เสริมปรุงสุข (จิตรกรรม)
นายบุญช่วย หิรัญวิทย์ (ประณีตศิลป์)
นายนิจ หิญชีระนันท์ (การออกแบบผังเมือง)
2. ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ได้แก่
นางชมัยภร บางคมบาง
3. ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง ได้แก่
นายณรงค์ จันทร์พุ่ม (หนังตะลุง)
นางดุษฎี บุญทัศนกุล (ดนตรีสากล)
นายพงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา (ดนตรีไทยลูกทุ่ง)
นางภัทราวดี มีชูธน (ละครเวทีและภาพยนตร์)
นายสะอาด เปี่ยมพงศ์สานต์ (โทรทัศน์และภาพยนตร์)
นายสิริชัยชาญ ฟักจำรูญ (ดนตรีไทย)
ความสำคัญ
เพื่อระลึกถึงวันคล้ายพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เมื่อวันที่ ๒๔กุมภาพันธ์ 2310 เอกอัครศิลปินที่ยิ่งใหญ่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระอัจฉริยภาพในงานศิลปะหลายสาขา ทั้งทางด้านประติมากรรม ได้ทรงร่วมกับช่างประติมากรรมฝีมือเยี่ยมในสมัยนั้นแกะสลักบานประตูไม้พระ วิหาร วัดสุทัศน์เทพวรารามเป็นลายเครือเถารูปป่าหิมพานต์นับเป็นงานฝีมือชั้นเยี่ยม ด้านวรรณกรรม ถือว่าทรงเป็นกวีเอกแห่งแผ่นดินพระองค์หนึ่ง ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมไว้จำนวนมากมายหลายเรื่อง เช่น อิเหนา ซึ่งเป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรในรัชกาลที่ 6 ว่าเป็นยอดของกลอนบทละครรำ
นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์บทละครนอกไว้ถึง 5 เรื่อง ได้แก่ ไกรทอง พระไชยเชษฐ์ คาวี สังข์ทอง และมณีพิชัย และด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในด้านวรรณกรรม ทรงได้รับการยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกสาขาวรรณกรรม และเพื่อเป็นการยกย่องศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงาน ทางสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติจึงได้มอบรางวัลให้แก่ ศิลปินที่มีผลงานดีเด่นในด้านต่างๆ ทั้งนี้เพื่อเป็นการยกย่องและเชิดชูเกียรติศิลปิน
24 กุมภาพันธ์ วันศิลปินแห่งชาติ
24 กุมภาพันธ์ วันศิลปินแห่งชาติ
วันศิลปินแห่งชาติ
วันศิลปินแห่งชาติ จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2527 ซึ่งทางสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ มีวัตถุประสงค์ในขณะนั้นว่า ต้องยกย่อง เชิดชู สนับสนุน ส่งเสริม รวมถึงช่วยเหลือศิลปินผู้สร้างสรรค์งานศิลปะอันทรงคุณค่า โดยได้กำหนดรางวัลรวมถึงคุณสมบัติต่าง ๆ ของศิลปินแห่งชาติไว้ดังนี้ ศิลปินแห่งชาติได้กำหนดไว้ 3 สาขา ได้แก่
.
1. สาขาทิศนศิลป์ (Visual Art) หมายถึง ศิลปะที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา ไม่ว่าจะเป็นแบบสองมิติ หรือสามมิติก็ได้ โดยสามารถแบ่งได้เป็น 8 สาขา ได้แก่
– จิตรกรรม
– ประติมากรรม
– ภาพพิมพ์
– ภาพวาด
– ภาพถ่าย
– สื่อประสม
– สถาปัตยกรรม
– การออกแบบ
.
2. สาขาศิลปะการแสดง (Performing Art) หมายถึง ศิลปะที่ใช้การแสดงทั้งทางด้านวิจิตรศิลป์ และประยุกต์ศิลป์ ได้แก่ การแสดง ดนตรีและ การแสดงพื้นบ้าน
.
3. สาขาวรรณศิลป์ (Literature) หมายถึง ศิลปะที่เกี่ยวกับงานประพันธ์ต่าง ๆ ได้แก่ กวีนิพนธ์ บทละคร เรื่องสั้น และนวนิยาย
.ลักษณะและความหมายของเข็มศิลปินแห่งชาติ
ลักษณะของเข็ม เป็นเหรียญกลม ภายในจัดองค์ประกอบเป็นภาพดอกบัวเรียงกันสามดอก มีแพรแถบรองรับต่อเนื่อง อ้อมรัดแถบริ้วธงชาติไทยตามแนวโค้งของเหรียญ ภายในผ้าจารึกคำว่า “ศิลปินแห่งชาติ” และได้อัญเชิญพระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี ประดิษฐานไว้เหนือเหรียญกลมโดยมีผ้าโบพันรอบคฑาไม้ชัยพฤกษ์ หัวเม็ดทรงมัณฑ์ เชื่อมประสานระหว่างกัน
.ความหมาย
แสดงถึงความเป็นปราชญ์ในทางความรู้ความสารมารถของศิลปินที่ได้อุตสาหะอุทิศ ตนสร้างสรรค์ผลงานในด้านศิลปะ ไว้มากมายจนเป็นมรดกอันล้ำค่าทางวัฒนธรรมของชาติทั้งในสาขาวรรณศิลป์ ทัศนศิลป์ และศิลปะการแสดง ซึ่งได้รับการยกย่องเชิดชู เกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ โดยได้รบพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศิลปินแห่งชาติ เข้ารับพระราชทานเข็มเพื่อความเป็นสิริมงคลยิ่งแก่ตนเองและวงศ์ตระกูลต่อไป
.
.

คุณสมบัติของศิลปินแห่งชาติ
1. เป็นผู้มีสัญชาติไทย และมีชีวิตอยู่ในวันตัดสิน
2. เป็นผู้มีความสามารถ มีความเชี่ยวชาญ และมีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับของวงการศิลปะแขนงนั้น
3. เป็นผู้สร้างสรรค์และพัฒนาศิลปะแขนงนั้นจนถึงปัจจุบัน
4. เป็นผู้ผดุงและถ่ายทอดศิลปะแขนงนั้น
5. เป็นผู้ปฏิบัติงานศิลปะแขนงนั้นอยู่ในปัจจุบัน
6. เป็นผู้มีคุณธรรมและะมีความรักในวิชาชีพของตน
7. เป็นผู้มีผลงานที่ยังประโยชน์ต่อสังคมและมนุษยชาติ
.
.

กลุ่มที่ ๑ ศิลปินแห่งชาติ
1. ค่าครองชีพรายเดือน เดือนละ 6,000 บาท
2. ค่ารักษาพยาบาลเฉพาะตัว ตามระเบียบของทางราชการ
3. ช่วยเหลือเมื่อประสบอุบัติเหตุ หรือสาธารณะภัยเท่าที่จ่ายจริง หรือไม่เกิน 5,000 บาท
4. ช่วยเหลือเมื่อเสียชีวิต คนละ 12,000 บาท
.
กลุ่มที่ ๒ ศิลปินพื้นบ้านดีเด่นและผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม
1. ค่ารักษาพยาบาลเฉพาะตัว ตามระเบียบของทางราชการ
2. ช่วยเหลือเมื่อประสบอุบัติเหตุ หรือสาธารณะภัยเท่าที่จ่ายจริง หรือไม่เกิน 3,000 บาท
3. ช่วยเหลือเมื่อเสียชีวิต คนละ 7,000 บาท
.
กลุ่มที่ ๓ ศิลปินอื่นนอกจากกลุ่มที่ ๑ และ ๒
การช่วยเหลือให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการกองทุนศิลปิน