นิทรรศการศิลปะนิพนธ์ ของ นิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรม
วันนี้ (25 มี.ค.) ที่หอศิลป์จามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนางพิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ ภรรยา เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศ การศิลปนิพนธ์ HALO Art Thesis Exhibition 2012 โดยนิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายในงานมีผลงานภาพสีน้ำมัน บนผ้าใบ ชื่องาน “With myself” ขนาด 150x190 ซม. โดยมีผลงาน ของ น.ส.ปราง เวชชาชีวะ บุตรสาวนายอภิสิทธิ์ ร่วมแสดงด้วย นิทรรศการศิลปนิพนธ์ HALO Art Thesis Exhibition 2012 จัดแสดงตั้งแต่ วันที่ 26 มี.ค. - 3 เม.ย. 2556 ที่ห้องนิทรรศการชั้น 1 ห้อง 1-4 หอศิลป์จามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเปิดให้นิสิตและประชาชนท ั่วไปเข้าชมได้ทุกวัน ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 10.00-19.00 น. และเสาร์-อาทิตย์ 12.00-19.00 น. สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0-2218-3709 หรือเฟซบุ๊ก “HALO Art Thesis Exhibition”
Krymsky Val, hall 38 Getting here. Opening times
Boris Orlov. Sportswomen Parade 2000-2012. Collection of Sh.Breus |
Boris Orlov (born in 1941) - a well-known Russian artist and sculptor, is one of the leading representatives of the sots art.
The name of the project points on something lost, but constantly reminding about itself. Actually B.Orlov meant the Soviet epoch: it was lost, but became a fruitful source of inspiration for the artist. The main theme of his creativity was the Soviet time. In his works Boris Orlov "clears away" the memoirs on the Soviet empire, its cultural and social codes, deconstructs the old myths and creates the new ones. In the two parts of this project - "Ruthless Kronos" and "Restoration Experiences" - the artist addresses the theme of heroism, trying to define its modern meaning.
The exposition includes 24 works: sculptures, paintings and wall reliefs. The project is realised in common with the Artchronika Cultural Fundation.
ศิลปะ โดยประชาคมอาเซียน
โครงการ SW-ASEAN ของเอ็มพาวเวอร์
ในปี 2558 ประเทศอาเซียน จะรวมกันเป็นเขตเศรษฐกิจเดียว ทุกประเทศในกลุ่มอาเซียน จะมีข้อตกลง และยุทธศาสตร์หลายอย่าง ร่วมกัน เป็นต้นว่า การค้า, การท่องเที่ยว, แรงงานข้ามแดน, วีซ่า, เอชไอวี/เอดส์, และสิทธิมนุษยชน, ฯลฯ
ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้ มีพนักงานบริการมากกว่า ล้านคน อาศัยอยู่ ทำงาน และเดินทางข้ามเส้นพรมแดน อยู่ในกลุ่มประเทศอาเซียน ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า พนักงานบริการเป็นอาชีพหนึ่งที่มีส่วนสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้กับประเทศในอาเซียน อย่างมหาศาล พนักงานบริการ ล้วนเป็นมนุษย์ ที่มีสิทธิมนุษยชน เช่นเดียวกับคนทุก ๆ อาชีพ
แต่กระนั้น พนักงานบริการในกลุ่มประเทศอาเซียนทุกแห่ง ถูกมองเป็นกลุ่มคนไร้ค่า และถูกกีดกันออกไปจากสังคม และกฎหมาย พนักงานบริการล้วนไม่ได้รับการปกป้องคุ้มครอง และได้รับสิทธิประโยชน์ทางสังคมเช่นคนอื่น ๆ พนักงานบริการเข้าไม่ถึงความยุติธรรม และเสรีภาพในการเดินทางก็ถูกจำกัด, ฯลฯ
กลุ่มคนหลายชุมชนในอาเซียน ได้รวมตัวกันเพื่อหวังว่ารัฐบาลจะได้ยินเสียงพวกเขา คิดถึงพวกเขา ไม่ใช่เพียงแค่คิดถึงเรื่อง ผลกำไรทางการค้า และอำนาจ ดังนั้นในเดือนพฤศจิกายน ปี 2555 พนักงานบริการทั่วอาเซียนก็ได้มารวมตัวกัน โดยการจัดขึ้นของเอ็มพาวเวอร์ ในโครงการ SWASEAN (Sex Workers of ASEAN) เพื่อเรียกร้องความเปลี่ยนแปลง มาเรียนรู้ร่วมกัน และเพื่อให้พวกเรามีพื้นที่ยืน ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
การประชุมสุดยอดครั้งที่หนึ่งของพนักงานบริการอาเซียน จัดขึ้น โดยเอ็มพาวเวอร์ มีผู้นำพนักงานบริการ 30 คนจากประเทศไทย, ลาว, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, เมียนม่าร์, กัมพูชา, อินโดนีเซีย และติมอร์เลสเต มาประชุมเคียงข้างกับสมัชชาประชาชนอาเซียน (ASEAN People’s Forum) ที่กรุงพนมเปน
เป็นที่เห็นร่วมกันอย่างชัดแจ้ง ว่า ประเด็น เรื่องการตีตราและเลือกปฏิบัติ ได้สร้างผลกระทบที่รุนแรงต่อพวกเรา ดังนั้น “ เราจะต้องหาทางที่จะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นในสังคม ให้เกิดการยอมรับการดำเนินอาชีพของเรา แต่ทั้งนี้เนื่องจากพวกเรามาจากต่างวัฒนธรรมและภาษา ซึ่งเป็นสีสันอันงดงามของเรา เราจึงเลือกที่จะใช้ศิลปะ ที่จะสามารถแลกเปลี่ยนแบ่งปันเนื้อหาของเรา แก่กันและกันได้ “
หลังจากนั้น พนักงานบริการจาก 9 ประเทศ บวกกับอีก 1 คือ ติมอร์เลสเต ก็ได้กลับไปสู่ชุมชนของพวกเรา สร้างกระบวนการสร้างสรรค์ ผลงานศิลปะ ที่แสดงออกถึงสถานการณ์ของเรา ประสบการณ์ของเรา ตอบโต้กับการตีตราและการถูกเลือกปฏิบัติ เราจะนำผลงานศิลปะ ที่ผลิตขึ้นด้วยมือเรา มาแสดงร่วมกัน ในหัวข้อนิทรรศการชื่อ “…เราก้อ ยังเต้นรำ ได้อยู่ ! พนักงานบริการแห่งอาเซียน – Yet, Still we dance! Sex Workers of ASEAN Art Exhibition” จัดแสดงขึ้นที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน นี้เป็นต้นไป
โดยได้รับการสนับสนุนจาก สำนักแผนและการพัฒนา ของสหประชาชาติ (UNDP) ซึ่งจะมีผลงานหลากหลาย เช่น ภาพถ่าย จิตรกรรม ประติมากรรมผ้า และการจัดวาง เราหวังว่านิทรรศการนี้ จะทำให้ผู้ชมตระหนักถึงผลกระทบ ที่เกิดจากการเลือกปฏิบัติ ในเวลาเดียวกันก็ได้มาร่วมกัน แสดงความยินดีกับการ เสนอภาพสะท้อน และความสามารถด้านศิลปะ ของพวกเรา “นับว่าเป็นเวลา ที่เราจะร่วมกันสร้างความเข้าใจใหม่ ๆ การยอมรับ และแง่มุมของความคิดที่หลากหลาย มากขึ้นเกี่ยวกับงานอาชีพบริการ ในอาเซียน”
พิธีเปิดนิทรรศการในวันอังคารที่ 2 เมษายน 2556 เวลา 17.00 น.
กิจกรรมการสัมมนาของพนักงานบริการอาเซียน เปิดให้ผู้สนใจร่วมรับฟังได้ ณ ห้องเอนกประสงค์ ชั้น 1 ในวันที่ 2 เมษายน 2556 เวลา 15.00-17.00 น.
ผลงานโดย
เมียนม่าร์ – Aids Myanmar Alliance, Myanmar
มาเลเซีย – PAMT Malaysia
กัมพูชา – Women’s Network for Unity, Cambodia
สิงคโปร์ – Project X Singapore
ฟิลิปปินส์ – Philippines Sex Worker’s Collective, Philippines
เวียตนาม – Vietnamese Network of Sex Workers (VNSW)
สปป ลาว – Sao Lao Laos
อินโดนีเซีย – P3SY/OPSI Indonesia
ประเทศไทย – Empower Thailand
อาเซียน + 1 – SW ASEAN Plus One; $carlet Timor Collective ($TK) Timor Leste
เมียนม่าร์ – Aids Myanmar Alliance, Myanmar
มาเลเซีย – PAMT Malaysia
กัมพูชา – Women’s Network for Unity, Cambodia
สิงคโปร์ – Project X Singapore
ฟิลิปปินส์ – Philippines Sex Worker’s Collective, Philippines
เวียตนาม – Vietnamese Network of Sex Workers (VNSW)
สปป ลาว – Sao Lao Laos
อินโดนีเซีย – P3SY/OPSI Indonesia
ประเทศไทย – Empower Thailand
อาเซียน + 1 – SW ASEAN Plus One; $carlet Timor Collective ($TK) Timor Leste
นิทรรศการศิลปะ โดยพนักงานบริการ ประชาคมอาเซียน เราก้อ ยังเต้นรำ ได้อยู่ ! พนักงานบริการแห่งอาเซียน
วันที่ : 2 เมษายน – 12 เมษายน 2556
สถานที่ : ชั้น 5 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
สอบถามเพิ่มเติมโทรศัพท์ : 02 214 6630 – 8 ต่อ 501
เว็บไซต์ : www.bacc.or.th
วันที่ : 2 เมษายน – 12 เมษายน 2556
สถานที่ : ชั้น 5 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
สอบถามเพิ่มเติมโทรศัพท์ : 02 214 6630 – 8 ต่อ 501
เว็บไซต์ : www.bacc.or.th
เกี่ยวกับเอ็มพาวเวอร์
เอ็มพาวเวอร์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2528 จดทะเบียนเป็นมูลนิธิในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมสิทธิและโอกาส ของพนักงานบริการ แนวคิดการทำงานของเอ็มพาวเวอร์ อยู่บนพื้นฐานสิทธิมนุษยชน ลดการเลือกปฏิบัติ และการทำร้าย และการตีตรา
เอ็มพาวเวอร์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2528 จดทะเบียนเป็นมูลนิธิในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมสิทธิและโอกาส ของพนักงานบริการ แนวคิดการทำงานของเอ็มพาวเวอร์ อยู่บนพื้นฐานสิทธิมนุษยชน ลดการเลือกปฏิบัติ และการทำร้าย และการตีตรา
แนวทางการทำงานของเอ็มพาวเวอร์ เป็นการสร้างหนทางให้พนักงานบริการเข้าถึงสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน เช่นงานดี เข้าถึงความยุติธรรม และการมีสุขภาพดี รวมถึงการป้องกันเรื่องโรคเอชไอวี/เอดส์ และการเข้าถึงการรักษา เอ็มพาวเวอร์ เป็นศูนย์รวมของพนักงานบริการ เพื่อให้เกิดการรวมตัวกันเป็นชุมชน และการมีส่วนร่วมทาง สังคม และการเมือง เอ็มพาวเวอร์ มุ่งมั่นที่จะทำให้พนักงานบริการทุกคนเข้าถึงสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ในฐานะบุคคลที่ดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างเท่าเทียม และสามารถที่จะคัดค้าน และต่อสู้กับการเลือกปฏิบัติ และการตีตรา อยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน ในสังคมเดียวกัน
ปัจจุบันนี้ เอ็มพาวเวอร์ มีศูนย์ชุมชนอยู่ที่ อ.แม่สอด, อแม่สาย, เชียงใหม่, มุกดาหาร, กรุงเทพ และนนทบุรี และได้ทำงานในพื้นที่อื่น ๆ โดยผ่านการสร้างเครือข่าย กับพนักงานบริการ และกลุ่มชุมชนท้องถิ่น อีกด้วย
มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์
57/60 ถนนติวานนท์ นนทบุรี 11000
โทร/แฟกซ์ : 02-526-8311
อีเมล์ :badgirls@empowerfoundation.org
เว็บไซต์ : www.empowerfoundation.org
57/60 ถนนติวานนท์ นนทบุรี 11000
โทร/แฟกซ์ : 02-526-8311
อีเมล์ :badgirls@empowerfoundation.org
เว็บไซต์ : www.empowerfoundation.org
Nang Songkran 2013 - นางสงกรานต์ 2556
นางสงกรานต์ ๒๕๕๖
Artist:
สมภพ บุตราช
มโหธรเทวี - Mahotorn Devi, 2013, oil on canvas, 130 x 110 cm
นางสงกรานต์ปีมะเส็ง - Nang Songkran of the Year of the Snake, 2013,
oil on canvas, 140 x 235 cm
มโหธรเทวี นางสงกรานต์ปี 2556 - Mahotorn Devi: Nang Songkarn of 2013, 2013,
oil on canvas 200 x 350 cm
เทพธิดากับนาคาหมายเลข 2 – Goddess and Naga No. 2, 2013, oil on canvas,
120 x 200 cm
นางรำ - Dancer, 2013, oil on canvas, 80 x 60 cm
นางสงกรานต์ หมายเลข 1 - Nang Songkran No. 1, 2013, oil on canvas, 90 x 70 cm
นางสงกรานต์ หมายเลข 2 - Nang Songkran No. 2, 2013, oil on canvas, 90 x 70 cm
Date:
March 18, 2013 - April 28, 2013
Gallery:
ARDEL Gallery of Modern Art |
บัญญัติ 10 ประการ ของงานออกแบบที่ดี – แนวคิดอมตะจาก Dieter Rams
เป็นเวลากว่า 40 ปีแล้วที่ Dieter Rams ได้กล่าวสุนทรพจน์ ณ เมืองนิวยอร์ก ถึงความสำคัญของการนำ “ศาสตร์ของผู้ใช้” (User-centered Design) มาเป็นหัวใจหลักในการออกแบบ พร้อมกับได้ให้ “บัญญัติ 10 ประการของงานออกแบบที่ดี” ไว้เป็นเครื่องเตือนใจสำหรับนักออกแบบรุ่นหลัง แต่ที่น่าประหลาดใจคือ แม้ว่าเวลาจะผ่านไป 40 ปีแล้ว สุนทรพจน์ที่ Rams เคยกล่าวในวันนั้น กลับคงความ “ร่วมสมัย” ไว้ได้ราวกับว่ามันเพิ่งผ่านไปเมื่อวานนี้ (!)
Dieter Rams เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในฐานะนักออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ปฏิวัติรูปแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าของ Braun (แบรนด์ดังสัญชาติเยอรมัน) และเขาคนนี้แหละที่เป็นต้นแบบการทำงานของ Jonathan Ive หัวหน้าฝ่ายออกแบบของ Apple Computer
Dieter Rams เคยทำงานให้กับ Vitsœ ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ในประเทศอังกฤษ แต่คุณเชื่อหรือไม่ว่า ผลงานการออกแบบเมื่อ 50 ปีที่แล้วของเขา (ภายใต้ชื่อ Rams’s Modular) ก็ยังคงไว้ซึ่งความร่วมสมัย และถูกผลิตอย่างต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้
ต่อไปนี้ คือ บทสุนทรพจน์อันยอดเยี่ยมที่ Dieter Rams อนุญาติให้ Vitsœ นำกลับมาเผยแพร่อีกครั้ง
“เรียนท่านสุภาพบุรุษ และสุภาพสตรี ณ วันนี้ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของเราสามารถแข่งขันในท้องตลาดได้ งานออกแบบได้ก้าวเข้ามาเป็นหัวใจสำคัญของการประกอบธุรกิจ งานออกแบบนั้นเปรียบเสมือนกับกุญแจในการสร้างเอกลักษณ์ความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ โดยที่ผู้บริโภคของเราจะสามารถสัมผัสถึงมันได้”
“เรียนท่านสุภาพบุรุษ และสุภาพสตรี ณ วันนี้ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของเราสามารถแข่งขันในท้องตลาดได้ งานออกแบบได้ก้าวเข้ามาเป็นหัวใจสำคัญของการประกอบธุรกิจ งานออกแบบนั้นเปรียบเสมือนกับกุญแจในการสร้างเอกลักษณ์ความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ โดยที่ผู้บริโภคของเราจะสามารถสัมผัสถึงมันได้”
“องค์กรใดที่ต้องการประสบความสำเร็จในธุรกิจจำเป็นจะต้องเข้าใจถึงความสำคัญของงานออกแบบด้วย อย่างไรก็ดี นิยามความสำเร็จของเรา (Vitsœ) อาจจะแตกต่างจากแนวทางของหลายๆ ท่าน เพราะเราต้องการให้กับผลิตภัณฑ์มีคุณค่ามากกว่าแค่เพียงมิติเดียว”
“งานออกแบบของเราจะคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเรามีเป้าหมายหลักที่จะลดความสูญเสียตลอดกระบวนการผลิต ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการออกแบบของเราครับ”
“ฟังก์ชั่น” หัวใจที่ไม่สามารถมองข้ามได้งานออกแบบที่ดีจะต้องมีทิศทางเดียวกันกับเป้าหมายขององค์กร ตลอดระยะเวลา 20 ปี Dieter Rams ได้ใช้แนวคิดนี้ในการทำงาน (ทั้งที่ Braun และ Vitsœ) โดยเขามองว่า การให้นักออกแบบภายนอกที่ไม่เข้าใจองค์กรมาทำการออกแบบผลิตภัณฑ์ใดๆ นั้น จะส่ง “ผลลบ” ต่อทิศทางการเติบโตขององค์กรด้วย ในทางตรงกันข้าม Rams เชื่อมั่นว่า งานออกแบบที่ดีจะเกิดขึ้นได้จากการร่วมมือร่วมใจของพนักงานทุกคนในองค์กร เหมือนดั่งเช่นที่เขาเคยทำสำเร็จมาแล้วที่ Vitsœ
ในปี 1957 Rams ได้เริ่มพัฒนาชุดเฟอร์นิเจอร์สำหรับจัดเก็บสิ่งของ (อันเป็นที่มาของการก่อตั้งแบรนด์ Vitsœ ในอีก 2 ปีถัดมา) โดยเขาเผยว่า การคิดอย่างละเอียดรอบคอบระหว่างการออกแบบนั้น จะทำให้ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นสามารถตอบโจทย์ของผู้ใช้ได้อย่างสูงสุด ซึ่งงานออกแบบใดที่ไม่คำนึงถึงจุดนี้ นอกจากจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไร้คุณค่าแล้ว มันยังอาจก่อความรำคาญให้กับผู้ใช้ด้วย
แน่นอนว่างานออกแบบที่ดีคือจุดเริ่มต้นขององค์กรที่ประสบความสำเร็จ แต่ถึงกระนั้นความสำเร็จในความหมายของ Dieter Rams อาจจะไม่ตรงกับแนวคิดของคนอื่นก็ได้ เพราะว่าเขาได้นำเรื่อง “ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม” เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบ ทีมงานทุกคนจะต้องพยายามทุกวิถีทางเพื่อจะลดปริมาณการใช้วัสดุ การใช้พลังงาน ฯลฯ ที่จะเกิดขึ้นตลอดกระบวนการผลิต
งานออกแบบที่ดี คืออะไรDieter Rams เชื่อว่า องค์รวมของงานออกแบบผลิตภัณฑ์นั้นประกอบไปด้วย รูปทรง สี วัสดุ และโครงสร้าง ซึ่งการที่ผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่งจะตอบสนองต่อผู้ใช้ได้อย่างสูงสุดนั้น ผู้ออกแบบจะต้องไม่มองตัวเองเป็นศิลปินผู้หลงใหลในความงามเพียงอย่างเดียว (เพราะความงามเป็นเพียงสิ่งที่ห่อหุ้มผลิตภัณฑ์เท่านั้น) สำหรับ Rams แล้ว “ความสวยงาม” ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของงานออกแบบทั้งปวง
ในทางตรงกันข้าม นักออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ดีควรให้ความสนใจกับ “โครงสร้างทางวิศวกรรม” ของผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้นก่อน และท้ายที่สุด ความงามของตัวผลิตภัณฑ์ก็จะเกิดขึ้นเองจากประโยชน์ใช้สอย และความรู้สึกดีๆ ที่ผู้บริโภคให้มา นี่คือหลักของการออกแบบที่มีผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง (User-centered Design) ซึ่งความงามที่แท้จริง หมายถึง การที่ผลิตภัณฑ์สามารถตอบสนองผู้บริโภคได้อย่างสูงสุด (ส่วนรูปลักษณ์ความสวยงามเป็นสิ่งสำคัญอันดับรองลงมา)
ที่สำคัญผลิตภัณฑ์หนึ่งชิ้นนอกจากจะต้องมีประโยชน์ใช้สอยในตัวมันเองแล้ว มันยังจะต้องตอบสนองต่อการใช้งานภายใน “บริเวณติดตั้ง” ด้วย การคำนึงถึงปัจจัยข้อนี้ส่งผลให้ชั้นวางอเนกประสงค์ Vitsœ’s 606 ของ Rams มีรูปแบบที่เรียบง่าย และกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ “ปรับตัว” เข้ากับพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านได้อย่างลงตัวไม่ว่าจะวางไว้ในห้องใดก็ตาม
นอกจากนั้น ผลิตภัณฑ์ที่ดีจะต้องมีคุณลักษณะที่ถูกต้องตามหลักกายศาสตร์ (Ergonomic) ซึ่งนักออกแบบทุกคนควรทำความเข้าใจต่อระบบความสัมพันธ์ (ระหว่างผลิตภัณฑ์กับผู้ใช้) นี้ให้ดีก่อน อาทิเช่น ความสัมพันธ์ในเรื่องของขนาด ความสูง ความรู้สึก ความเข้าใจต่อประโยชน์ใช้สอย ฯลฯ
ด้วยเหตุนี้เอง ในกระบวนการออกแบบของ Vitsœ จึงเลือกใช้วิธีการสังเกตและศึกษาผู้ใช้โดยตรง เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกว่า ผู้บริโภคมีความต้องการอะไรที่ซ่อนเร้นอยู่บ้าง การศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่องนี้ ทำให้ Vitsœ สามารถรู้ลึกถึงโอกาสในการใช้งานของชั้นอเนกประสงค์และเก้าอี้พร้อมที่วางแขนได้มากขึ้น (ทั้งๆ ที่ผู้บริโภคเองอาจจะไม่เคยนึกถึงประโยชน์ใช้สอยนั้นๆ มาก่อนเลย)
การจัดลำดับความสำคัญ ความสะอาด และ ความเป็นระเบียบ คือการสร้างประโยชน์สูงสุดจุดเด่นอีกข้อของ Vitsœ คือ การให้ความใส่ใจกับเรื่อง “การจัดลำดับความสำคัญในงานออกแบบ” สิ่งนี้ถือเป็นการสื่อสารทางอ้อมให้ผู้บริโภคได้รับรู้ถึง “การใช้งาน” ของตัวผลิตภัณฑ์ อาทิเช่น การจัดลำดับความสำคัญของ ลักษณะ รูปทรง ขนาด สัดส่วน สี และองค์ประกอบอื่นๆ ทั้งหมด
นอกจากนั้น งานออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ดีควรจะดูเรียบง่าย ทุกส่วนของผลิตภัณฑ์มีความสมดุลและกลมกลืนไปด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโครงสร้าง ส่วนประกอบ รวมไปถึงการตกแต่งชิ้นงานเพื่อให้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ สามารถ “ใช้งานได้ง่ายที่สุด”
งานออกแบบที่ดีที่สุด คือ งานออกแบบที่น้อยที่สุดถ้าเราหวังให้การออกแบบช่วยดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภค ผ่านการตกแต่งที่สวยงามหรือการทำให้ผลิตภัณฑ์ดูเท่มีเสน่ห์ Dieter Rams คิดว่า การสร้างงานในลักษณะนี้ไม่ใช่งานออกแบบ แต่เป็นการใส่เสื้อผ้าให้กับผลิตภัณฑ์เท่านั้น ในทางตรงกันข้าม งานออกแบบที่ดีจะต้องคำนึงถึงทุกรายละเอียดทางด้านประโยชน์ใช้สอย รวมทั้งมีความสะอาดตา และใช้งานง่าย แนวคิดนี้จะทำให้ผลิตภัณฑ์หนึ่งๆ มีวงจรชีวิตที่ยืนยาวที่สุด
นวัตกรรม คือ คำตอบวิวัฒนาการด้านผลิตภัณฑ์ของ Vitsœ ไม่ได้ถูกตีกรอบจากเทคโนโลยีการผลิต อีกทั้งยังสามารถปรับรูปแบบไปได้เรื่อยๆ ตามลักษณะการพักอาศัย อย่างไรก็ดี Vitsœ เองไม่เคยหยุดที่จะมองหานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น เพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมา พวกเขาพบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ยอมรับได้กับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิต และพร้อมที่จะปรับตัวเข้าหานวัตกรรมใหม่ๆ เสมอ (ดังนั้นหากผลิตภัณฑ์ของคุณไม่มีการพัฒนาแล้วล่ะก็ ผู้บริโภคก็พร้อมที่จะเขี่ยคุณทิ้งเช่นกัน)
บริหารจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสมVitsœ รู้ว่าสิ่งแวดล้อมและบริบทที่เปลี่ยนไปมีอิทธิพลอย่างมากต่องานออกแบบ พวกเขาจึงจำเป็นต้องศึกษาถึงสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น อาคารบ้านเรือนที่เติบโตในแนวดิ่ง พื้นที่ใช้สอยภายในบ้านที่น้อยลง โครงสร้างทางด่วน รูปแบบไฟตามท้องถนน หรือแม้กระทั่งวิธีการจอดรถ เพราะสิ่งละอันพันละน้อยเหล่านี้อาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อพฤติกรรมของมนุษย์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง และที่จะลืมไม่ได้เลย ก็คือ โลกที่เราอาศัยอยู่นี้กำลังเปลี่ยนแปลงไปในทางลบมากกว่าทางบวก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวัสดุการผลิต พลังงาน อาหาร รวมไปถึงพื้นดิน ซึ่งแน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่องานออกแบบโดยตรง ดังนั้น กระบวนการจัดการเรื่องทรัพยากรจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่นักออกแบบในปัจจุบันต้องทำความเข้าใจ
http://www.fastcodesign.com/1669725/dieter-rams-on-good-design-as-a-key-business-advantage
http://www.vitsoe.com/
Read more: http://article.tcdcconnect.com/ideas/10-principles-diter-rams#ixzz2OBpBuoEw
เรื่อง : สุวิทย์ วงศ์รุจิราวาณิชย์
Asakusa Culture Tourist Information Center
ถ้าถามผมว่าสถานที่ท่องเที่ยวที่ไหนที่เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของเมืองโตเกียว ผมคงนึกถึงโคมไฟสีแดงขนาดมหึมาที่ประตูของวัดเซ็นโซจิ หรือเป็นที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่าวัดอาซากุสะ ประมาณว่าถ้าไม่ได้ไปถ่ายรูปกับโคมไฟตรงนี้แล้วเหมือนไปไม่ถึงโตเกียว งานสถาปัตยกรรมที่นำมาเล่าสู่กันฟังวันนี้เป็นอาคาร Asakusa Culture Tourist Information Center ซึ่งตั้งอยู่ตรงหัวมุมฝั่งตรงข้ามกับประตูทางเข้าวัดอาซากุสะนี้เลย การที่จะต้องออกแบบอาคารที่อยู่ในระยะกระชั้นชิดและประจันหน้ากับงานสถาปัตยกรรมที่เก่าแก่และเป็นเหมือนสัญลักษณ์ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองโตเกียวนั้นเป็นโจทย์ที่ท้าทายไม่น้อยเลยทีเดียว
|
อาคาร Asakusa Culture Tourist Information Center ที่เพิ่งเปิดใช้งานเมื่อประมาณกลางปีที่แล้ว(2012)แห่งนี้ออกแบบโดย Kengo Kuma ซึ่งงานของเขาส่วนใหญ่นั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นงานที่ดูโมเดิร์น เรียบง่าย เน้นการแสดงถึงเนื้อแท้ของวัสดุเป็นอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกันก็แสดงออกถึงความเป็นญี่ปุ่นได้อย่างชัดเจน และงานนี้ก็เช่นเดียวกัน เมื่อดูจากภายนอกแล้วดูเหมือนเป็นอาคารที่เกิดขึ้นจากการนำอาคารย่อยๆ ที่มีหลังคาลาดชันมาวางซ้อนๆ กันสลับไปมา อาจจะเป็นเพราะเส้นสายของแนวชายคา การเลือกใช้สีโทนเข้ม โครงสร้างหลังคาและแผงกันแดดไม้ในแนวตั้งของแต่ละชั้น ทำให้งานนี้ของเขามีกลิ่นอายของความเป็นญี่ปุ่นอยู่ไม่น้อยทีเดียว
|
ภาพแสดง : รายละเอียดผนังของอาคารและแผงกันแดดไม้ |
การใช้งานของอาคารสูง 8 ชั้นบนพื้นที่ดินผืนเล็กๆ แค่ 326 ตารางเมตรแห่งนี้แบ่งประกอบไปด้วยหลายๆ ส่วนที่แตกต่างกัน ด้วยความที่ที่ดินนั้นจำกัดเป็นอย่างมาก สถาปนิกจึงต้องนำการใช้งานต่างๆ มาจัดวางซ้อนกันในแนวตั้งแทน ชั้นแรกและชั้นที่สองนั้นเป็นโถงล็อบบี้และส่วนบริการให้ข้อมูลเกี่ยวกับย่านอาซากุซะแก่นักท่องเที่ยว มีการจัดแสดงโมเดลจำลองของพื้นที่รอบย่านอาซากุสะ งานศิลปะและประติมากรรมพื้นถิ่น โดยที่พื้นที่ตรงกลางของชั้นแรกนั้นจะเปิดโล่งเป็น double space ขึ้นไปสู่ชั้นสอง ภายในนั้นสถาปนิกได้โชว์โครงสร้างไม้ของหลังคาลาดชัน ตัดกับสีเทาเข้มเกือบดำของฝ้าเพดาน พื้นที่ว่างระหว่างหลังคาลาดชันกับพื้นนั้นของแต่ละชั้นนั้นถูกใช้สำหรับระบบปรับอากาศ
|
ภาพแสดง : ภายในล็อบบี้ชั้นหนึ่งซึ่งเป็นส่วนบริการให้ข้อมูลเกี่ยวกับย่านอาซากุซะแก่นักท่องเที่ยว |
จากล็อบบี้ชั้นหนึ่งผมขึ้นลิฟท์ไปสู่ชั้น 8 ซึ่งเป็นลานชมวิวและส่วนคาเฟ่ชั้นบนสุดของอาคารนี้ก่อน ลานชมวิวเป็นพื้นที่ภายนอกที่มีหลังคาคลุม จากจุดนี้จะสามารถมองเห็นวิวของสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญต่างๆ ในย่านอาซากุซะในมุมมองที่นักท่องเที่ยวไม่เคยเห็นมาก่อนที่จะมีการสร้างอาคารนี้ไม่ว่าจะเป็นวัดอาซากุซะ อาคาร Asahi Beer Hall ที่ออกแบบโดย Philippe Stark เลยไปถึงหอคอยที่สูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่นที่เพิ่งเปิดใช้ไปไม่นานมานี้อย่าง Tokyo Sky Tree
|
จากชั้นชมวิวจะมีบันไดภายนอกเชื่อมลงไปสู่ชั้น 7 ซึ่งเป็นโถงนิทรรศการ ขณะที่ผมไปเยี่ยมชมนั้นเขาได้จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของย่านอาซากุซะนี้ และอาคารสำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอาคารเก่าหรือใหม่
|
ชั้น 6 ถัดลงมานั้นน่าสนใจทีเดียว อาศัยที่ว่าหลังคาลาดชันของชั้น 5 ด้านล่างนั้น ทำให้พื้นของชั้น 6 สามารถทำเป็นขั้นบันไดไล่ไปตามความชันของหลังคาชั้น 5 การใช้งานของชั้นนี้จึงสามารถเป็นได้ทั้งห้องบรรยายและห้องฉายภาพยนตร์ไปในตัว นอกจากนั้นผนังกระจกที่อยู่ด้านเดียวกับจอภาพยนตร์นั้นเปิดให้เห็นวิวของวัดอาซากุซะได้เป็นอย่างดี ส่วนชั้น 3 ถึง 5 นั้นเป็นส่วนสำนักงาน ห้องบรรยายขนาดเล็กและห้องประชุม
|
ถึงแม้ว่าอาคาร Asakusa Culture Tourist Information Center จะตั้งเผชิญหน้าอยู่กับอาคารที่เก่าแก่และสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองโตเกียว ด้วยการออกแบบที่แตกรูปทรงของอาคารออกมาเป็นชิ้นเล็กๆ ย่อยๆ แทนที่จะเป็นอาคารสูงทื่อๆ ที่เนื่องมาจากการตอบสนองพื้นที่ใช้งานที่มากพอสมควรแต่เพียงอย่างเดียว และการยืมเอาองค์ประกอบบางอย่างของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของญี่ปุ่นมาลดทอนรายละเอียดลงให้น้อยที่สุด แต่ยังคงกลิ่นอายของความเป็นญี่ปุ่นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสี วัสดุ และรูปทรงหลังคา ผมว่าอาคารนี้สามารถอยู่ร่วมกับวัดอาซากุซะได้อย่างถ้อยทีถ้อยอาศัยแต่ในขณะเดียวกันก็มีความโดดเด่นในตัวของมันเอง
เรื่อง/ภาพ : คุณต่อพงษ์ เอื้อประยูรวงษ์
|
Subscribe to:
Posts (Atom)